class="post-template-default single single-post postid-2222 single-format-standard wp-custom-logo eplus_styles">

สาระน่ารู้

กระบวนการ UASB คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ข้อดี และข้อจำกัด 

ในกระบวนการ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ Methanogens เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ  ปภพ เป็นหนึ่งในบริษัทของคนไทยอันดับต้นๆ ที่บุกเบิกก่อสร้างกระบวนการ UASB เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพตั้งแต่เมื่อ 25 ปีก่อน โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของคุณลิขิต นิ่มตระกูล และดร. เสนีย์ กาญจนวงศ์ 

กระบวนการ Anaerobic Digestion ตัวเลขในรูปภาพแสดงถึงกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ ที่มา: Costa, A; Ely, C; Pennington, M.; Rock, S.; Staniec, C. and Turgeon, J.  2015. Anaerobic Digestion and its Application. United States Environmental Protection Agency Office of Research and Development. Cincinnati.  

ถังหมักแบบนี้ถูกคิดค้นโดย Prof. Lettinga ตั้งแต่ช่วงปี 1980 จากนั้นมีการพัฒนาต่อยอดจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นที่แพร่หลาย และยอมรับในประเทศไทยอย่างมาก  ถังหมักยูเอเอสบีมีการออกแบบให้น้ำไหลเข้าทางด้านล่างและออกทางด้านบน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์แบบกลมและแบบเส้นมีการยึดเกาะกันเป็นเม็ดหรือที่เรียกว่า Granule ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจุลินทรีย์แบบ floc ในระบบเติมอากาศปกติ  เมื่อมีขนาดใหญ่และมีความหนาแน่นจึงมีน้ำหนัก ทำให้ตกตะกอนได้ดี  โดยต้องออกแบบให้มีอัตราการไหลของน้ำเสียที่เหมาะสมไม่มากและไม่น้อยเกินไป  เพื่อให้อาหารเข้าถึง Granule ได้ และมีการขยายตัวของชั้นตะกอน  แต่ชั้นตะกอนต้องไม่สูงจนลอยออกไปจากถัง  โดยด้านบนของถังหมักแบบนี้จะติดตั้งอุปกรณ์แยกก๊าซชีวภาพ-ของเหลว-ตะกอนจุลินทรีย์ ซึ่งเรียกว่า Gas-Liquid-Solid Separator (GSS) หรือเรียกว่า 3 Phase Separator เพื่อแยกก๊าซชีวภาพนำไปใช้งาน ทำให้จุลินทรีย์ตกตะกอน และน้ำเสียที่บำบัดแล้วไหลออกทางเวียร์ด้านบนถัง 

UASB Granule 

ถัง UASB 

เวียร์น้ำล้นบนฝาถัง UASB 

ข้อดีของกระบวนการ UASB คือ ประสิทธิภาพกำจัด COD สูงสุดถึง 90%  สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ความเข้มข้นก๊าซมีเทนสูงสุด 65-70%  เดินระบบ และบำรุงรักษาง่าย  มีเสถียรภาพ  ใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบบ่อไร้อากาศทั่วๆ ไป  สามารถนำตะกอนส่วนเกินไปขายได้มูลค่าเพิ่ม 

ข้อจำกัดของกระบวนการ UASB คือ ผู้เดินระบบต้องมีความเข้าใจการทำงานของจุลินทรีย์  ต้องมีการติดตามค่าต่างๆ ที่ใช้เดินระบบเป็นประจำ  น้ำเสียที่เข้าระบบต้องมี Suspended Solids หรือของแข็งแขวนลอยไม่สูงเกินไป  ระบบท่อกระจายน้ำต้องออกแบบให้ดีเพื่อป้องกันการอุดตันโดยเฉพาะในน้ำเสียที่มีค่า SS, TDS สูงๆ    

ท่านใดที่สนใจระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ UASB สามารถติดต่อได้ที่บริษัท ปภพ จำกัด ที่ LINE office @papop หรือโทร 02-570-5580   อีเมล info@papop.com