Hot News
สุดทึ่ง! ระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานแป้งโมดิฟายด์ทันสมัย และครบครัน โดยปภพ
ในบทความนี้แอดมินชวนเพื่อนๆ เยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานแป้งโมดิฟายด์แห่งหนึ่งที่มีความทันสมัย และมีอุปกรณ์ครบถ้วน ซึ่งทั้งหมดบริษัท ปภพ ออกแบบรายละเอียด ก่อสร้าง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ และเริ่มต้นเดินระบบภายในเวลา 12 เดือน จึงแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์

ก่อนที่เราจะไปดูระบบบำบัดน้ำเสีย เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรงงานแป้งโมดิฟายด์เสียก่อน แป้งโมดิฟายด์ หรือโมดิฟายด์สตาร์ชถูกนำไปใช้ในหลาย Application และสามารถผลิตได้จากแป้งหลายประเภท เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว หรือแป้งข้าวโพด
ต่างประเทศนิยมใช้แป้งข้าวโพดมาทำแป้งโมดิฟายด์ แต่ประเทศไทย และ Asia แป้งมันสำปะหลังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า เพราะการที่แป้งมันมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และ non-GMOs แป้งมันสำปะหลังโมดิฟายด์ จึงค่อยๆ นิยมไปทั่วโลก
น้ำเสียที่เกิดจากการผลิตแป้งโมดิฟายด์ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามแต่แป้งที่ใช้ และตามแต่คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้งาน ลักษณะเด่นของน้ำเสียจากโรงงานประเภทนี้ คือมีสารอินทรีย์หรือความสกปรกไม่สูงมาก มี Total Dissolved Solid และไนโตรเจน (TKN) หรืออิออนบางประเภท เช่น โซเดียมสูง อาจจะเกิดจากการใช้สารเคมีบางประเภท เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติเฉพาะ
การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติน้ำเสียในแต่ละโรงงานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นระบบบำบัดน้ำเสีย จึงมีลักษณะเฉพาะแต่ละโรงงาน โดยโรงงานที่จะนำมาให้ชมในวันนี้มีคุณสมบัติน้ำเสียที่มี COD (Biochemical Oxygen Demand), Total Dissolved Solid และ TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) ค่อนข้างสูง จึงได้รับการออกแบบให้ใช้ระบบบำบัดแบบเคมี ระบบบำบัดแบบไร้อากาศประเภท UASB แล้วตามด้วยระบบบำบัดแบบเติมอากาศประเภท Activated Sludge
เริ่มต้นจากน้ำเสียเข้าสู่ถังปรับเสถียร (Equalization tank) ที่ทำหน้าที่เหมือนถังหมักกรด (Acidification tank)ในตัวเพื่อเปลี่ยนสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ ให้กลายเป็นสารอินทรีย์โมเลกุลขนาดเล็ก จากนั้นส่งต่อไปยังกระบวนการตกตะกอนเคมี (Chemical Precipitation) ซึ่งกระบวนการนี้มีการเติมสารเคมี ให้สิ่งสกปรกในน้ำเสีย ที่แขวนลอยอยู่ตกตะกอนลงที่ก้นถังตกตะกอน จากนั้นตะกอนเคมีที่ได้จะถูกส่งไปที่เครื่องรีดตะกอนแบบ Filter Press

น้ำเสียที่ผ่านการตกตะกอนเคมีจะถูกสูบเข้าไปยังถัง UASB ที่ออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในจะมีจุลินทรีย์แบบ Granular sludge ย่อยสลายสารอินทรีย์แล้วผลิตแก๊ซชีวภาพออกแบบ น้ำเสียจะวิ่งจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบนแล้วล้นออกข้ามเวียร์ เนื่องจากก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีปริมาณค่อนข้างน้อย จึงไม่คุ้มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ โรงงานนี้จึงเผาก๊าซชีวภาพทิ้งด้วย Biogas Flare



น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากถัง UASB จะถูกส่งเข้าสู่ถังเติมอากาศที่ถูกออกแบบให้บำบัด TKN ให้เป็นไนเตรทได้โดยใช้จุลินทรีย์ จากนั้นน้ำที่บำบัดแล้วจะถูกส่งเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์ ตะกอนจุลินทรีย์วนกลับเข้าสู่ถังเติมอากาศ ส่วนน้ำใสด้านบนจะเข้าสู่ถังกรองทราย เพื่อกำจัดสารแขวนลอยที่ยังเหลืออยู่ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ตะกอนส่วนเกินจากถังเติมอากาศจะถูกส่งไปยังระบบรีดตะกอนแบบ Screw press



หากท่านใดสนใดสนใจโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้สามารถติดต่อเราได้ที่บริษัท ปภพ จำกัด LINE @papop หรืออีเมล info@papop.com หรือโทร 02 570 5580