Hot News

ปภพเจ๋ง! คว้าทุนสนช.ผลิตไบโอกราฟีน และไบโอคาร์บอนนาโนทูป

ระดับ pilot scale 

บริษัท ปภพ จำกัด ผู้นำด้านก๊าซชีวภาพและเทคโนโลยีสีเขียว ได้รับทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ในหัวข้อ “การผลิตไบโอ-กราฟีน และไบโอ-คาร์บอนนาโนทูปเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน” เพื่อทำระบบต้นแบบระดับ Pilot scale ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation)  

ไบโอ-กราฟีน และไบโอ-คาร์บอนนาโนทูป คือวัสดุนาโนที่เป็นแบบ 2 และ 1 มิติ ตามลำดับ วัสดุทั้งสองอย่างนี้มีคุณสมบัติพิเศษมากมาย  กราฟีนประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเรียงตัวแบบรังผึ้งหนาเพียงหนึ่งอะตอมมีความนำไฟฟ้าดีกว่าทองแดงหลายร้อยเท่า มีความแข็งแรงกว่าเหล็กล้า 100 เท่า แต่มีน้ำหนักเพียงประมาณ 0.77 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร กราฟีนมีการประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น หน้าจอแสดงผล, วงจรไฟฟ้า, เซลล์แสงอาทิตย์, แบตเตอรี่, วัสดุเพิ่มความแข็งแรง และการแพทย์ 

ภาพ SEM และ TEM ไบโอกราฟีนที่ผลิตได้ 

ท่อนาโนคาร์บอน คือ วัสดุรูปทรงท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ผนังท่ออาจมีเพียงแค่ชั้นเดียว (Single-walled) หรือหลายชั้น (Multi-walled) ซึ่งประกอบขึ้นจากการเรียงตัวอะตอมของธาตุคาร์บอนเพียงชนิดเดียว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ทำเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งในวัสดุ Composite ทำอิเล็กโทรดเพิ่มกำลังไฟ และใช้ผสมเป็นตัวเสริมในแบตเตอรี และตัวเก็บประจุ  

ภาพ SEM และ TEM ไบโอคาร์บอนนาโนทูปที่ผลิตได้ 

คุณลิขิต นิ่มตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ปภพ จำกัด ได้กล่าวว่า “บริษัทมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้รับการสนับสนุนจากสนช. ในโครงการนี้ เราได้ทำงานวิจัยในหัวข้อนี้ในเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และประสบผลสำเร็จในระดับห้องแล็บร่วมกับสวทช.  เงินทุนจากสนช.จะทำให้เราสามารถสร้างเครื่องต้นแบบที่มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งหากทำสำเร็จนี่จะเป็นการปฏิวัติวงการก๊าซชีวภาพของไทยไปตลอดกาล” 

คุณลิขิต นิ่มตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปภพ จำกัด

ดร. อภิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการบริษัท ปภพ จำกัด ได้เน้นย้ำว่า “โครงการนี้จะนำพาบริษัท ปภพ เข้าสู่อุตสาหกรรมนาโนเทค และแบตเตอรี่สีเขียวในปีพ.ศ. 2568 โดยใช้นวัตกรรมที่สามารถต่อยอดจากก๊าซชีวภาพได้จากทุกแห่งในโลก นอกจากนี้ยังเป็นการกักเก็บคาร์บอนในตัวเองอีกด้วย นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท ปภพ และวงการก๊าซชีวภาพของประเทศไทย” 

ดร. อภิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปภพ จำกัด

ท่านใดที่สนใจระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ หรือสนใจวัสดุไบโอ-กราฟีน และไบโอ-คาร์บอนนาโนทูป เพื่อนำไปทดสอบประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่  สามารถติดต่อได้ที่บริษัท ปภพ จำกัด ที่ LINE official @papop หรือโทร 02-570-5580 หรืออีเมล info@papop.com