สาระน่ารู้

5 วิธีใช้ประโยชน์ก๊าซชีวภาพ (Biogas) อย่าง Cool คุ้มค่า และรักโลก 

ปภพ นำเสนอการใช้งานก๊าซชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส ให้ได้ประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า ประหยัด และลดโลกรวน อีกทั้งยังอาจจะได้ขายหน่วยคาร์บอนเป็นรายได้เสริมอีกด้วย โดยทางเลือกที่เป็นไปได้ ได้แก่ 1) ใช้ในหม้อไอน้ำ 2) ผลิตน้ำร้อน น้ำเย็น 3) ผลิตไฟฟ้า 4) ผลิต CBG (Compressed Biomethane Gas) เติมรถยนต์ 5) ผลิตไบโอเมทานอล

1) นำก๊าซชีวภาพไปใช้ในหม้อไอน้ำ

การใช้ก๊าซชีวภาพในหม้อไอน้ำมีใช้กันมาอย่างยาวนานในประเทศไทยและทั่วโลก หลักการง่ายๆคือหากหม้อไอน้ำ (Boiler) ของคุณใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันเตา แก๊สธรรมชาติ แก๊สแอลพีจี หรือเชื้อเพลิงอื่นๆ อยู่  คุณสามารถเปลี่ยนหัวเผา (burner) ให้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซชีวภาพได้เลย หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นหัวเผาแบบที่ใช้เชื้อเพลิง 2 ชนิด (Dual duel burner) ด้วยเงินลงทุนเพียงน้อยนิด ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด  คือคืนทุนภายใน 3 ปี  โดยเฉพาะช่วงที่ราคาน้ำมันแพงอย่างเช่นในปี 2565 นี้  อาจจะสามารถคืนทุนได้ใน 2 ปีเลย

หม้อไอน้ำ ก๊าซชีวภาพ

2) ผลิตน้ำร้อน และน้ำเย็น

ปัจจุบันมีเครื่อง Adsorption Chiller ที่สามารถใช้ไบโอแก๊ส นำมาผลิตน้ำร้อนและน้ำเย็นได้โดยตรง ซึ่งกระบวนการนี้มีประสิทธิภาพสูง และมีงบลงทุนที่ไม่มากนัก โดยกระบวนการนี้เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำร้อนและน้ำเย็นไปใช้ในกระบวนการผลิต และมีก๊าซชีวภาพเหลือมากพอ

Adsorption chiller

3) ผลิตไฟฟ้า

การใช้ก๊าซชีวภาพผลิตไฟฟ้าต้องมีระบบเพิ่ม 2 ระบบ คือ 1) ระบบกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ 2) Biogas Generator Set (Genset)  ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่าส่งผลให้น้ำมันหล่อลื่นของเครื่อง Genset เสื่อมคุณภาพ ผู้ผลิต Biogas Genset Generator จึงมีข้อกำหนดว่า ก๊าซชีวภาพที่เข้าสู่เครื่อง ต้องไม่เกิน 200 ppmV มิฉะนั้นจะทำให้การสึกหรอของเครื่องยนต์สูงกว่าที่ประเมินไว้

Genset เป็นเครื่องยนต์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับการสันดาปก๊าซชีวภาพ ซึ่งในปัจจุบันผู้นำตลาดคือประเทศเยอรมันและประเทศในแถบยุโรป เพราะมีประสบการณ์ที่ยาวนาน การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย และประเทศในแถบยุโรป เพราะสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ หากเจ้าของโครงการมีใบอนุญาตขายไฟฟ้าก็จะดีมากเพราะจะสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ 

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพในหลายประเทศมีราคาที่ลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในโรงงานจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

ก๊าซชีวภาพ Genset

4) ผลิต CBG (Compressed Biomethane Gas) เติมรถยนต์

ก๊าซชีวภาพมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกับก๊าซธรรมชาติ แตกต่างกันแค่ก๊าซชีวภาพมีอัตราส่วนก๊าซมีเทนที่ค่อนข้างต่ำคือไม่เกิน 70% ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติ มีสัดส่วนก๊าซมีเทนสูงประมาณ 90%-97% ดังนั้นจึงมี ผู้ประกอบการหลายแห่งพัฒนาเทคโนโลยีกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซชีวภาพ และเพิ่มสัดส่วนก๊าซมีเทนให้เท่ากับก๊าซชีวภาพ เทคโนโลยีที่ใช้ในการ upgrade ก๊าซชีวภาพมีหลากหลายเช่น เมมเบรน, Pressure Swing Adsorption (PSA), Amine Scrubber, หรือ Water Scrubber ก๊าซที่ได้ออกมาชนิดนี้เรียกว่า Biomethane และหากนำมาอัดที่ความดันสูงจะเรียกว่า CBG (Compressed Biomethane Gas) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า Bio-CNG (Compressed Natural Gas)

เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม และแพร่หลายมากที่สุดในโลกคือ เทคโนโลยีเมมเบรน เนื่องจากมีงบการลงทุน ที่ไม่สูงมาก แต่มีค่าเดินระบบและบำรุงรักษาที่ต่ำที่สุดในกระบวนการทั้งหมด โดยปภพเองก็เป็นตัวแทนจำหน่ายเทคโนโลยีแบบนี้ร่วมกับ partner เช่นเดียวกัน

การผลิต CBG ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง ราคาขาย เพราะต้องอ้างอิงตามราคาขายก๊าซ NGV ซึ่งก๊าซชนิดนี้ถูกจำกัดราคาไว้โดยภาครัฐ ทำให้ไม่สามารถสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือราคาที่แท้จริงตามตลาดโลกได้ ในขณะที่บางประเทศมีการสนับสนุนให้ใช้แก๊ส CBG อย่างแพร่หลาย เพราะราคาก๊าซในตลาดโลกที่แท้จริงนั้นมีราคาแพงกว่าที่ขายในประเทศไทยเกือบ 2 เท่าตัว  เช่นในประเทศอินเดีย นอกจากนี้บางประเทศยังสนับสนุนและเปิดกว้างด้วยการอนุญาตให้นำ CBG เติมใส่ Gas grid เช่น ประเทศเยอรมัน แต่ทั้งนี้ประเทศไทยก็ยังไม่เห็นว่ามีการสนับสนุนในเรื่องนี้ทั้งจากภาครัฐและจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องท่อส่งก๊าซ

การลงทุนผลิต CBG จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้ทดแทนในหม้อไอน้ำและการผลิตไฟฟ้า ผลตอบแทนการลงทุนขึ้นอยู่กับราคาขาย CBG ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ซื้ออยู่ไม่กี่ราย แต่ก็เป็นไปได้หากมีก๊าซชีวภาพที่เหลือมากพอ และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ประกอบกับราคาขาย CBG ที่สูงเช่นในภาคใต้หรือเหนือของไทย

Compressed-Biomethane-Gas-CBG-upgrading-system

5) ผลิตไบโอเมทานอล

เรื่องนี้กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากใน 2 ปีที่ผ่านมาเพราะไบโอเมทานอลเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับบริษัทระดับโลกที่ต้องการลด Carbon Footprint เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมาย Net Zero เพราะไบโอเมทานอล เป็น Green Methanol เทคโนโลยีที่จะผลิตเมทานอลมีอยู่แล้วและสามารถใช้ Biomethane มาทำได้  เมทานอลสามารถนำมาอะไรได้หลายอย่างมากเช่น ทดแทนน้ำมัน เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกและสารเคมีต่างๆ การลงทุนผลิตไบโอเมทานอลอาจจะต้องมีขนาดที่เหมาะสม เพราะเงินลงทุนสูงสร้างโรงงานไบโอเมทานอลมีมูลค่าที่สูงมาก  ปัญหาสำคัญในเรื่องนี้ต้องมีวัตถุดิบที่เหมาะสม คุณสมบัติคงที่ และมากพอ

ปภพคือเป็นผู้นำพลังงานสีเขียวเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนของท่าน หากท่านสนใจเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย ก๊าซชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆ และการลดคาร์บอน สามารถติดต่อเราได้ที่อีเมล์ info@papop.com  LINE office @papop หรือโทร 02-570-5580