class="post-template-default single single-post postid-2201 single-format-standard wp-custom-logo eplus_styles">

สาระน่ารู้

UASB เพื่อบำบัดน้ำเสีย และผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์จากนม 

บทความนี้จะพาทุกท่านมาชมผลงานโครงการระบบบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์จากนมแห่งหนึ่งที่ใช้ระบบ UASB และ Digester แบบ CSTR   โครงการนี้ปภพเป็นผู้ดำเนินโครงการแบบ Turnkey ใช้เวลาออกแบบ ก่อสร้าง และเริ่มเดินระบบ ประมาณ 1 ปี  สามารถรองรับน้ำเสียได้สูงสุด 220 ลบ.ม. ต่อวัน   

ความท้าทายของโครงการนี้คือคุณสมบัติน้ำเสีย และปริมาณ  ที่แปรเปลี่ยนตามผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ใช้ตามฤดูกาล ทำให้การออกแบบระบบต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลง และให้น้ำทิ้งสุดท้ายผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม  อีกทั้งพื้นที่ก่อสร้างก็มีขนาดเล็กมาก คือเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด กว้าง 13  ยาว 40  สูง 10 เมตร 

๊UASB ผลิตก๊าซชีวภาพ บำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์นม

กระบวนการที่ใช้คือ Dissolved Air Flotation (DAF) จำนวน 1 ชุด   ใช้สำหรับกำจัดไขมัน และสารแขวนลอยจากน้ำเสีย  ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในระบบถัดไป ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ น้ำออกจากระบบ DAF จะเข้าสู่กระบวนการ UASB จำนวน 1 ถัง  ส่วนตะกอนจะถูกส่งเข้าถังหมัก Anaerobic digester แบบ CSTR

๊UASB ผลิตก๊าซชีวภาพ บำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์นม-DAF

ปภพเป็นบริษัท แรกๆในประเทศไทยที่พัฒนาระบบ UASB สำหรับน้ำเสียอุตสาหกรรมในระดับ commerical scale ด้วยการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปภพเป็นผู้นำในการ ออกแบบ ก่อสร้าง ได้เดินระบบ UASB อย่างครบวงจรมากกว่า 20 ปีแล้ว ข้อดีของระบบนี้คือ มีประสิทธิภาพสูง ใช้พื้นที่น้อย ก๊าซชีวภาพที่ได้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในหม้อไอน้ำ หรือผลิตกระแสไฟฟ้า  เป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นปัญหาทำให้เกิด “ภาวะโลกรวน” 

๊UASB ผลิตก๊าซชีวภาพ บำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์นม-UASB wier

น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบ UASB จะถูกส่งไปบำบัดต่อที่ ถังเติมอากาศ Activated Sludge แบบ SBR หรือ Sequencing Batch Reactor  ข้อดีของระบบนี้คือ ถังมีขนาดเล็ก และไม่จำเป็นต้องมีถังตกตะกอน จึงประหยัดพื้นที่ก่อสร้าง  จากนั้นน้ำที่บำบัดแล้วจะถูกส่งไปยังบ่อพักน้ำ ก่อนที่จะปล่อยสู่แหล่งน้ำต่อไป 

๊UASB ผลิตก๊าซชีวภาพ บำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตภัณฑ์นม-SBR

ตะกอนส่วนเกินที่เกิดจากระบบ DAF และ SBR จะถูกส่งไปที่ถัง Anaerobic Digester ทำหน้าที่ย่อยตะกอนเหล่านี้  ระบบแบบนี้ก็เป็นหนึ่งในระบบที่ปภพมีประสบการณ์ในการออกแบบ ก่อสร้าง มาอย่างยาวนาน  ข้อดีของมันคือสามารถลดปริมาณตะกอนที่ออกจาระบบบำบัดน้ำเสียได้สูงสุดถึง 90% คือเหลือตะกอนทิ้งออกนอกโรงงานน้อยสุดแค่ 10%  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบอย่างมาก 

 
เนื่องจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากถัง UASB และ ถังย่อยตะกอน มีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 1,100 ลบ.ม. ต่อวัน ซึ่งมีค่าน้อยมาก ยังไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันจึงนำก๊าซที่ได้ไปเผาที่ Flare เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกรวน แล้วก็ยังมีระบบป้อนสารเคมี ทั้งหมดนี้ระบบควบคุมด้วย PLC & SCADA แบบครบวงจร 

หากท่านใดสนใดสนใจโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมดีๆแบบนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่ บริษัท ปภพ จำกัด ที่ LINE office @papop  อีเมล info@papop.com  โทร 02-570-5580