class="post-template-default single single-post postid-2231 single-format-standard wp-custom-logo eplus_styles">

สาระน่ารู้

กระบวนการ UASB เพื่อบำบัดน้ำเสียโรงงานแปรรูปอาหารและผลิตก๊าซชีวภาพ โดยปภพ  

โครงการบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพนี้ตั้งอยู่ที่โรงงานแปรรูปอาหารแห่งหนึ่ง บริษัท ปภพ จำกัด  เป็นผู้รับเหมาหลักทำหน้าที่ก่อสร้าง และเริ่มต้นเดินระบบ ใช้เวลา 1 ปี บริษัท พัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงานไทย จำกัด เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมงาน กระบวนการที่ใช้คือ Dissolved Air Flotation (DAF), Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) และ Screw Press  

ความท้าทายที่สุดของโครงการนี้คือ พื้นที่ก่อสร้างนั้นแคบมากๆ  คือมีพื้นที่กว้างแค่ประมาณ 11 เมตร และยาวประมาณ 37 เมตร  ทำให้ต้องมีการก่อสร้างแบบซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ โดยความสูงทั้งหมดประมาณ 17 เมตร    

โดยระบบทั้งหมดสามารถรองรับน้ำเสียได้สูงสุดถึง 4,500 ลบ.ม. ต่อวัน  กระบวนการบำบัดเริ่มจากสูบน้ำเสียจากถังปรับเสถียรหรือถัง Equalization tank เข้าสู่กระบวนการ Dissolved Air Flotation หรือเรียกย่อๆว่า DAF ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคารนี้จำนวน 2 ชุด โดยแต่ละชุดสามารถรองรับน้ำเสียได้สูงสุดถึง 4,800 ลบ.ม. ต่อวัน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุด DAF ที่มีขนาดใหญ่มากๆ หรืออาจจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ 

กระบวนการ DAF ถูกออกแบบให้เป็นวงกลมที่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เมตร   

ความพิเศษของชุด DAF แบบนี้คือ 

  • สามารถผลิต micro bubble ได้ด้วย กระบวนการแบบ common rail injection ความถี่สูง ทำให้มีอัตราการละลายของออกซิเจนได้สูงสุดถึง 27% ภายใน เวลาสั้นๆ แค่ 3 วินาที   
  • ขนาดของ micro bubble มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-7 ไมครอน ในขณะที่กระบวนการ DAF แบบ Conventional อยู่ที่ 500-600 ไมครอน  ดังนั้นขนาด micro bubble จึงเล็กกว่าปกติถึง 100-200 เท่า 
  • ด้วยเครื่องที่พิเศษนี้ทำให้ได้ฟองอากาส Micro bubble  จึงประสิทธิภาพในการกำจัดไขมัน และสารแขวนลอยสูงสุดถึง 99%  
  • เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและถังมีความลึกไม่มาก  ทำให้ใช้พื้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระบบ DAF ปกติที่ใช้อยู่ทั่วไป 
  • เครื่องจักรทำงานเสียงดังน้อยกว่าแบบปกติ 
  • เครื่องจักรน้อยชิ้นกว่า ทำให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ต่ำกว่าแบบปกติ 

ตะกอนที่ถูกกำจัดจากน้ำเสียด้วยชุด DAF จะถูกส่งไปยังเครื่องรีดตะกอน หรือที่เรียกว่า Screw Press  น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการ DAF จะถูกส่งเข้าระบบ UASB จำนวน 4 ถัง โดยสร้างแบบซ้อนกันขึ้นไป  ชั้นล่างสุดเป็นถัง UASB 1 และ 2 สูงขึ้นมาอีกชั้นจะเป็น ถัง UASB 3 และ 4 

ระบบ UASB หรือ Upflow Anaerobic Sludge Blanket เป็นระบบที่ปภพมีความชำนาญอย่างยิ่งเพราะมีการวิจัยและพัฒนาต่อยอดมาถึงกว่า 30 ปี  ปัจจุบันมีระบบแบบนี้ติดตั้งในประเทศไทยแล้วกว่า 40 แห่งทั่วประเทศไทย  สามารถใช้ผลิตก๊าซชีวภาพจากนำเสียโรงงานแปรรูปอาการ โรงงานแป้งมัน โรงงานเอทานอลก็สามารถทำได้ด้วย 

โดยระหว่าง UASB 1, 2 และ 3, 4 จะมีชั้นลอย ที่ตั้งห้องควบคุม  ห้องเติมสารเคมี  เครื่องสูบน้ำ  และเครื่องจักรอื่นๆทั้งหมดจะติดตั้งอยู่ที่นี่  รวมถึงห้องควบคุมที่ทันสมัย   ด้วยการใช้ระบบ PLC และ SCADA  

ก๊าซชีวภาพที่ได้จากระบบ UASB จะส่งเข้าสู่ถังเก็บก๊าซก่อนส่งไปใช้ที่โรงงานต่อไป  เป็นการนำพลังงานทดแทนมาใช้ประโยชน์แบบเต็มที่เลยทีเดียว 

เครื่อง Screw Press นี้รับตะกอนที่ออกจากกระบวนการ DAF เพื่อลดปริมาตรตะกอนก่อนส่งไปกำจัด เครื่องนี้สามารถรองรับตะกอนสดที่มีไขมันเจือปนสูงสุดถึงประมาณ 1,400 kg DS /hr  โดยที่โครงการนี้ใช้เป็นแบบ Multi disc screw press ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด  ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน 

เครื่องนี้สามารถรีดตะกอนจนได้ความแห้งได้สูงสุดถึง 30% total solids เลยทีเดียว  ซึ่งมากกว่าระบบอื่นๆถึง 2 เท่า และถ้าเทียบเครื่องนี้กับ Filter Press, Belt Press หรือ Decanter เราจะพบนี้เครื่องนี้ชนะขาดลอยในแง่ 

  • ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่า 
  • ไม่จำเป็นต้องใช้คนงานมาเดินเครื่อง หรือนำตะกอนออก 
  • ใช้พลังงานน้อยกว่ามาก 
  • และค่าใช้จ่ายในการเดินระบบและบำรุงรักษาจึงต่ำกว่ามาก 

ตะกอนที่ออกจากเครื่อง Screw press นี้สามารถนำไปใส่ถังหมักแบบ Anaerobic digestion เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพเพิ่มเติมได้อีกด้วย  

ปภพเป็นบริษัทเทคโนโลยีสีเขียวที่มีความเชี่ยวชาญด้านบำบัดน้ำเสีย ก๊าซชีวภาพ Water Reuse และ Solar Power Plant เรามีเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน    

หากท่านใดสนใดสนใจโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้สามารถติดต่อเราได้ที่บริษัท ปภพ จำกัด LINE @papop หรืออีเมล info@papop.com